fxbnhj.png?1600658083

ครูเควินสุดหล่อสอนภาษาไทยให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

คุณครูเควิน ~

Introduction

Speaks
ThaiNative
ChineseC2 Proficient
สวัสดีครับ 🙏🏼 ผมชื่อนายวทัญญู กาวีวน หรือเรียกว่า “ครูเควิน” ก็ได้นะครับ ผมเป็นคนไทย เชื้อสายไทย แต่ผมมีความสนใจและหลงไหลในวัฒนธรรมจีน ดังนั้นผมจึงเริ่มศึกษาและเรียนภาษาจีนตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 2 ณ โรงเรียนหยินหลิ่ง ภายใต้การดูแลของรัฐบาลไต้หวันและสมาคมยูนนานแห่งประเทศไทย จากนั้นในปี 2016-2017 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของโครงการเอเอฟเอส (AFS) ณ จีนแผ่นดินไหญ่เป็นเวลา 10 เดือน หลังจากนั้นจึงได้กลับมายังประเทศไทย และศึกษาภาษาจีนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 จากนั้นจึงได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมเคยผ่านการสอบการวัดระดับภาษาไทยระดับประเทศ หรือที่เรียกว่า GAT & 9 วิชาสามัญ ดังนั้นผมจึงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาไทยเป็นอย่างดี อนึ่งด้วยการเป็นนักเรียนคนหนึ่งที่เริ่มเรียนภาษาต่างประเทศตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้นผมจึงมีความเข้าใจถึงอุปนิสัย ทัศนคติ มุมมอง และความคิดของผู้ที่เรียนภาษา ผมจึงอยากนำเอาวัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมของประเทศไทย เผยแพร่ให้ชาวต่างชาติ หรือผู้ที่สนใจในภาษาไทยได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน ผ่านการเรียนภาษาไทยในชั้นเรียนของผม ดังนั้นนักเรียนจะไม่เพียงแค่ได้เรียนรู้ภาษาไทย แต่จักได้เรียนรู้ถึงความเป็นมาของภาษาไทย ความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของภาษาไทย ผมจึงหวังว่านักเรียนจะได้รับความรู้ที่ผมพร้อมมอบให้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ • หลักสูตรภาษาไทยพื้นฐาน/ภาษาไทยเบื้องต้น 👉🏼 ๑. พยัญชนะ พยัญชนะไทยมี ๔๔ ดังนี้ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ ๑.๒. พยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๑. ก ก ๒. ค ขฃคฅฆ ๓. ง ง ๔. จ จ ๕. ช ชฌฉ ๖. ซ ซสศษ ๗. ด ดฎ ๘. ต ตฏ ๙. ท ทธฑฒถฐ ๑๐. น นณ ๑๑. บ บ ๑๒. ป ป ๑๓. พ พภผ ๑๔. ฟ ฟฝ ๑๕. ม ม ๑๖. ย ยญ ๑๗. ร ร ๑๘. ล ลฬ ๑๙. ว ว ๒๐. ห หฮ ๒๑. อ อ พยัญชนะตัวสะกด ๑. แม่กก ออกเสียงสะกด ก ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เช่น นก เลข โรค เมฆ ๒. แม่กด ออกเสียงสะกด ด ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น เปิด จิต รถ บาท โกรธ กฎ ปรากฏ เท็จ บงกช ก๊าซ อากาศ พิเศษ โอกาส อิฐ ๓. แม่กบ ออกเสียงสะกด บ ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ ๔. แม่กน ออกเสียงสะกด น ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกด เช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ ๕. แม่กง ออกเสียงสะกด ง ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกด เช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง ๖. แม่กม ออกเสียงสะกด ม ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกด เช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม ๗. แม่เกย ออกเสียงสะกด ย ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกด เช่น ยาย เนย เคย เลย คุย ๘. แม่เกอว ออกเสียงสะกด ว ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกด เช่น สิว หิว วัว พยัญชนะควบกล้ำ นอกจากเสียงนั้นยังมีพยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะกล้ำคือพยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมี ร ล ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ • ควบกล้ำแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น - ควบด้วย ร กรอบ กราบ เกรง ครอบครัว ตระเตรียม ปราบปราม แพรวพราว - ควบด้วย ล ไกล กลอง กลับ กลุ่ม กล้วย คลอนแคลน คลี่คลาย เปลี่ยนแปลง - ควบด้วย ว ไกว กวัดแกว่ง ขวนขวาย ขว้าง ขวาน ควาย • ควบกล้ำไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียวเช่น ไซร้ จริง ทรัพย์ ทรุดโทรม แทรก ทราบ สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (ไซ้) (จิง) (ซับ) (ซุดโซม) (แซก) (ซาบ) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี) พยัญชนะอักษรนำ-อักษรตาม อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำ แบ่งตามลักษณะการอ่านได้ 2 ชนิด คือ • อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียวกัน เมื่อมีตัว ห และ ตัว อ เป็นอักษรนำ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีตัว ห เป็นอักษรนำ เช่น หรู หรา หญ้า หญิง ใหญ่ เหลือ หลาย เหลว ไหล - หรู หรา – หรูหรา - ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห - หญ้า หญิง ใหญ่ – หยิง - ห อักษรสูง นำ ญ อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห - เหลือ หลาย เหลว ไหล – เหลือหลาย – ห อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห • เมื่อมีตัว อ เป็นอักษรนำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก - หย่า หยู่ หย่าง หยาก - อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม อ • อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก เช่น - จมูก จะ-หมูก จ อักษรสูง นำ ม อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห - สนอง สะ-หนอง ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห - ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต - สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส - ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ 👉🏼 ๒. ชนิดของคำ คำนาม คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ พืช สิ่งของ สภาพ ลักษณะ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ๑. คำนามสามัญ (สามานยนาม) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป เช่น ครู นักเรียน โรงเรียน กีฬา ฯลฯ • นักเรียนเล่นกีฬา • ครูเตรียมสอน • โรงเรียนเปิดรับสมัครนักเรียน ๒. คำชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ พืช สิ่ง ของ สถานที่ เช่น คณิตศาสตร์ สตรีวิทยา งามจิต ฐิฑิมา ฯลฯ • โรงเรียนสตรีวิทยา เปิดเทอม • ฐิฑิมาสอบได้ที่ 1 ของชั้น ป.5 • ครูงามจิตสอนวิชาคณิตศาสตร์ ๓. คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม) เป็นนามที่ใช้เรียกนามซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เช่น คณะ กอง กลุ่ม หมู่ ฝูง โขลง พวก พรรค วง ฯลฯ • กองทหารกำลังออกรบ • ฝูนนกบินบนฟ้าจำนวนมาก • คณะครูไปอบรมต่างจังหวัด ๔. คำนิยมธรรม ( อาการนาม) คือคำนามที่ใช้ “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยา และใช้ “ความ” นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น การเกิด การเดิน การวิ่ง การนอน ความรัก ความตาย ความคิด ความรู้ ความดี ความสุข ฯลฯ • พ่อแม่มีความรักที่บริสุทธิ์ • การนอนของเธอชั่งเรียบง่าย • ดูเธอมีความสุขที่ได้แต่งงาน ๕. คำลักษณนาม เป็นคำบอกลักษณะของนาม แบ่งย่อยได้ ๖ ชนิด ดังนี้ ๕.๑ ลักษณนามบอกชนิด เช่น • รูป ใช้กับ ภิกษุ สามเณร • เล่ม ใช้กับ หนังสือ เทียน • ใบ ใช้กับ หมอน หมวก ๕.๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่ เช่น • ฝูง ใช้กับ นก ปลา • กอง ใช้กับ ทหาร อิฐ ทราย ๕.๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน เช่น • วง ใช้กับ แหวน วงกลม แตรวง • หลัง ใช้กับ เรือน มุ้ง • บาน ใช้กับ ประตู หน้าต่าง • แผ่น ใช้กับ กระดาษ กระเบื้อง ๕.๔ ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา เช่น • คู่ ใช้กับ รองเท้า ถุงเท้า ช้อนส้อม • โหล ใช้กับ ของที่รวมกันจำนวน ๑๒ ชิ้น เช่น สมุด แก้ว ๕.๕ ลักษณนามบอกอาการ เช่น • จับ ใช้กับ ขนมจีน • จีบ ใช้กับ พลู • มวน ใช้กับ บุหรี่ ๕.๖ ลักษณนามซ้ำชื่อ เช่น • เมือง ประเทศ ตำบล จังหวัด ทวีป ฯลฯ 👉🏼 ๓. การใช้คำ คำแทนเสียงต่างๆ ภาษาไทยมีรูปและเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์มาก สามารถนำมาใช้เขียนแทนเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงอุทาน เสียงธรรมชาติ หรือเสียงคำพูด ในภาษาอื่นได้อย่างใกล้เคียง ดังนี้ ๑. ใช้แทนเสียงร้องของสัตว์ต่าง ๆ เช่น แมวร้องเหมียว ๆ ช้างร้องแปร๋น ๆ ๒. ใช้แทนเสียงดังของวัตถุ เช่น เสียงแตรดังปี้น ๆ เสียงนาฬิกาดังติ๊กต๊อก เสียงกลองดังตุ้ม ๆ ๓. ใช้แทนเสียงดังจากธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำตกดังซู่ ๆ เสียงฟ้าผ่าดังเปรี้ยง ๆ เสียงฟ้าร้องดังครืน ๆ ๔. ใช้แทนเสียงอุทานของคน เช่น อุ๊ย! ว้าย! อ้าว! โอ๊ย! ๕. ใช้แทนเสียงเอื้อนของบทเพลง เช่น หน่อย นอย น้อย นอยนอย น้อย ๖. ใช้แทนเสียงที่มาจากภาษาอื่น เช่น ฟรี เจี๊ยะ โน้ต บะหมี่ เชิ้ต 👉🏼 ๔. ประโยค ส่วนประกอบของประโยค ประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ดังนี้ - ภาคประธาน ประกอบด้วย ประธานและคำขยายประธาน - ภาคแสดง ประกอบด้วย กริยาและคำขยายกริยา นอกจากนี้ อาจมีกรรมและคำขยายกรรมด้วย การสร้างประโยคอาจให้ภาคประธานหรือภาคแสดงขึ้นต้นประโยคก็ได้ • ถ้าให้ภาคประธานขึ้นต้นประโยค เช่น - สมชายชอบหลับในเวลาเรียน - สุนัขของสมปองไล่กัดแมวอย่างดุร้าย • ถ้าให้ภาคแสดงขึ้นต้นประโยค เช่น - วิ่งเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งรีบดื่มน้ำ - เดินจนเมื่อยขา เธอก็ยังไม่บ่น ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 6 ชนิด ดังนี้ ๑. ประโยคบอกเล่า เป็นประโยคบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นการ แจ้งเรื่องราว บอกข่าวต่างๆ เช่น - ตาของข้าพเจ้ามีอาชีพทำไร่ทำนา - เมื่อช่างปั้นหม้อเสร็จก็นำไปแกะสลักลวดลาย และนำไปอบในเตาเผา - มีดาราคนหนึ่งยิงตัวตายในลิฟต์ ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการฆาตกรรม ๒. ประโยคปฏิเสธ เป็นประโยคมีใจตรงข้ามกับประโยคบอกเล่า อันความไม่ตอบสนองต่อผู้ถาม มักใช้คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ มิได้ ประกอบในประโยค - ผมไม่ได้ขโมยยางลบเขาไปนะ - เธอไม่สามารถมากินข้าวกับผมได้ - ตาของผมเป็นนักธุรกิจ ไม่ใช่นักการเมือง ๓. ประโยคคำถาม เป็นประโยคที่ใจความ มักแสดงคำถามอยู่หน้าหรือหลังประโยค มี ๒ ชนิด ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบ มักใช้คำว่า อะไร ใด ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด เท่าใด อยู่หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น - ใครเป็นคนทำกับข้าวไว้ให้ - วันนี้กินอะไร - เราจะไปเชียงใหม่โดยการเดินทางแบบใด ประโยคคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบรับ หรือปฏิเสธ มักมีคำว่า หรือ หรือไม่ ไหม ท้ายประโยค เช่น - ยางลบก้อนนี้ของคุณหรือ - คุณไปกินข้าวกับผมได้หรือไม่ ๔. ประโยคคำสั่ง เป็นประโยคบอกให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะละประธานไว้ ประโยคจะมี ๒ ลักษณะ คือ ประโยคสั่งให้ทำ มักใช้กริยาขึ้นต้นประโยค จะใช้คำว่า จง แต่หากมีประธานขึ้นต้นจะมีคำว่า ซิ นะ หน่อย ต่อท้ายประโยค เช่น - จงนั่งเร็วๆหน่อย - เธอพูดดีๆนะ - จงทำตามที่เธอสั่ง ประโยคห้าม หรือสั่งไม่ให้ทำ มักละประธาน และใช้คำว่า อย่า ห้าม ขึ้นต้นประโยค เช่น - อย่าเดินลัดสนาม - ห้ามทิ้งขยะลงชักโครก - ห้ามจับปลาฤดูวางไข่ ๕. ประโยคแสดงความต้องการ เป็นประโยคที่มีใจความแสดงความต้องการ อยากได้ อยากมี อยากเป็น มักมีความว่า ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยค เช่น - ฉันปรารถนาที่จะบินได้เหมือนนก - เเม่ต้องการให้ฉันเป็นเด็กดี - พ่อประสงค์ให้ฉันเรียนต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๖ .ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต เป็นประโยคมีใจความขอร้อง ชักชวน หรืออนุญาต อาจละประธานไว้ มักมีความว่า ซิ หน่อย นะ น่า อยู่ท้ายประโยค และมีความว่า โปรด กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค เช่น - โปรดอย่าส่งเสียงดังในห้องสมุด - เราออกไปเดินเล่นงานกาชาดกันดีกว่านะ - เธอเข้าไปเถอะนะ ผมได้ผ่านการสอบวัดระดับภาษาจีนระดับ 5 และการสอบวัดระดับการพูดภาษาจีน (ระดับกลาง) และได้ผ่านการสอบวัดระดับการสอบภาษาไทยระดับประเทศ ได้แก่ GAT 135/150 คะแนน และ 9 วิชาสามัญ ภาษาไทย 73/100 คะแนน หลังจากนั้นจึงได้รับเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และได้เรียนวิชาภาษาไทยระดับสูง เช่น การเขียนภาษาไทยในรูปแบบของบทความ หรือจดหมาย การฟังข่าวและเขียนสรุป หรือการอ่านบทความและเขียนสรุป เป็นต้น จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างตน ผมจึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนำเอาความรู้เกี่ยวกับการเรียนภาษาไทยที่ถูกต้อง สอนให้แก่นักเรียนผู้ที่มีความสนใจและมีความมุมานะพยายามที่อยากเรียนภาษาไทยให้ประสบผลสำเร็จ การเรียนภาษาใดๆก็ตาม ช่วงแรกทุกคนย่อมประสบพบเจอกับความท้อแท้ และความกดดัน แต่นักเรียนจงเชื่อมั่นในตนเอง และตั้งใจเรียน มีวินัย ตั้งใจทำการบ้าน หมั่นทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว นักเรียนจะสามารถเป็นผู้ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยได้อย่างแน่นอน
View full introduction

Videos

Self-Intro Video
In-Class Video
Additional Video
Learn more about this lesson
More available time slots
The more lessons you choose, the greater the discount is, check it down below or in the shopping cart!

Available times

View full schedule

514 Thai course reviews

  • 蕭裕台
    Dec 22, 2021
    Kru Kevin taught the Thai special vowels with consonant combination, which is very helpful to pronounce properly in Thai. I feel glad to have training with him today.
  • I didn't expect to be able to read the Thai alphabet, but now I'm so happy to read it. I hope we can have a conversation in Thai with Kevin teacher. Kevin is very young, but he is diligent, and he teaches me by checking my shortcomings step by step. I feel good because I can read, write, and memorize words as soon as possible! 沒想到能讀泰語字母,現在能讀,真的很幸福。 希望有一天能和Kevin老師用泰語會話。 kevin老師雖然很年輕,但是很誠實,一步一步地檢查不足之處並進行教育。 感覺能儘快讀完單詞 寫完背誦 非常開心! ฉันไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะสามารถอ่านตัวอักษรภาษาไทยได้ ฉันมีความสุขมากๆที่ตอนนี้สามารถอ่านได้ อยากให้วันที่แปลงเป็นภาษาไทย กับครู Kevin นะคะ ครู Kevin อายุน้อยมาก แต่มีความขยันหมั่นเพียรและการให้การศึกษาอย่างละเอียดค่ะ และที่สําคัญที่สุดคือ คนจีนยโส จนสามารถช่วยเหลือนักเรียนจํานวนมาก ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาจีน ผมรู้สึกดีที่อ่านแล้วเขียนประโยค ที่เขียนออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ!
See all 514 reviews

Thai learning milestones

第一課作業(01Jan2023)
啟航
77 Likes
3 Comments

Performance History

Resume

Experiences

  • 2017 - 2018 PAT7.4 泰國漢語高考

Educations

  • 2013 - 2016 清邁雲嶺中學 華語

  • 2015 - 2018 清邁德拉學校 中文系

  • 2016 - 2017 AFS 交換生 大陸-唐山市

  • 2019 - 2022 清邁大學 人文學院的中文系

Certifications

  • 沒有

Experiences
  • 2017 - 2018 PAT7.4 泰國漢語高考
Educations
  • 2013 - 2016

    清邁雲嶺中學

    華語

  • 2015 - 2018

    清邁德拉學校

    中文系

  • 2016 - 2017

    AFS 交換生

    大陸-唐山市

  • 2019 - 2022

    清邁大學

    人文學院的中文系

Certifications
  • 沒有

Packages

    FAQ

    How to book

    • After buying courses, you can book them according to the teacher’s schedule.
    • If “Instant Tutoring” shows on the teacher’s profile, you can book the lesson 30 minutes after the current time.
    • If the teacher is not online, the next available class cannot be booked until 24 hours afterward.

    Lesson duration

    • The duration of a trial session is 25 minutes.
    • The duration of a private session is 50 minutes.
    • If you purchase more than 5 sessions, you will receive a discount (according to the price the teacher set).

    Instructions

    • Enter the website 10 minutes before the class starts. Click “My Lessons” to find your class, click “Go to class”, and then you will be in the classroom on ZOOM!
    • You can use ZOOM for classes both on your phone and computer. Please download ZOOM in advance if you choose to use your phone for the class.

    Refund policy

    • Please click “Report Issue” if you encountered any problems, and the teacher will determine either reschedule or refund afterward.
    • If the teacher doesn’t respond the issue, we will provide a full refund as AT credits for you.
    How to book
    • After buying courses, you can book them according to the teacher’s schedule.
    • If “Instant Tutoring” shows on the teacher’s profile, you can book the lesson 30 minutes after the current time.
    • If the teacher is not online, the next available class cannot be booked until 24 hours afterward.
    Lesson duration
    • The duration of a trial session is 25 minutes.
    • The duration of a private session is 50 minutes.
    • If you purchase more than 5 sessions, you will receive a discount (according to the price the teacher set).
    Instructions
    • Enter the website 10 minutes before the class starts. Click “My Lessons” to find your class, click “Go to class”, and then you will be in the classroom on ZOOM!
    • You can use ZOOM for classes both on your phone and computer. Please download ZOOM in advance if you choose to use your phone for the class.
    Refund policy
    • Please click “Report Issue” if you encountered any problems, and the teacher will determine either reschedule or refund afterward.
    • If the teacher doesn’t respond the issue, we will provide a full refund as AT credits for you.

    Similar Tutors

    AI Tutor Matching

    Tell us your needs and we will match you with 3 ideal tutors in 30 seconds!

    Packages